วันอังคารที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2554

ความคืบหน้า การส่งรายชื่อผู้ที่จะรับ SMS แจ้งข่าวเตือนภัย

ความคืบหน้า การส่งรายชื่อผู้ที่จะรับ SMS แจ้งข่าวเตือนภัย

ปัจจุบัน มี 3 จังหวัดที่ส่งรายชื่อมาให้แล้ว ได้แก่  
เรื่องเดิม----------------------------------------------------------------------------
เรียนงานระบาดวิทยาระดับจังหวัดทั้ง 8 จังหวัด
สิ่งที่ส่งมาด้วย : แบบฟอร์มรายชื่อผู้รับ SMS แจ้งเตือนโรคและภัย

เนื่อง ด้วยสคร.6 ขอนแก่น มีโครงการส่ง SMS แจ้งเตือนการเกิดโรคและภัยสุขภาพที่สำคัญในพื้นที่เขตตรวจราชการที่ 10 และ 12 ไปยังเครือข่าย SRRT ทั้งในระดับจังหวัด อำเภอ และตำบล โดยจะเริ่มดำเนินการตั้งแต่เดือนมีนาคม เป็นต้นไป โดยมีรายละเอียดดังนี้

  1. เขตตรวจราชการที่ 10 จะส่ง SMS ไปยังผู้รับผิดชอบระดับจังหวัดจังหวัดละ 1 คน และ ระดับอำเภออำเภอละ 1 คน ระดับตำบล ตำบลละ 1 คน (ระดับตำบลเป็นนโยบายจากท่่านผู้ตรวจนิทัศน์)
  2. เขตตรวจราชการที่ 12 จะส่ง SMS ไปยังผู้รับผิดชอบระดับจังหวัดจังหวัดละ 1 คน และ ระดับอำเภออำเภอละ 1 คน (ไม่มีระดับตำบล)
ดัง นั้นทางกลุ่มระบาดวิทยาและข่าวกรอง สคร.6 จ.ขอนแก่น จึงขอความร่วมมือท่านในการให้ข้อมูลตัวแทน SRRT ที่จะรับข่าวสารตามรายละเอียดดังกล่าว
ลงในแบบฟอร์มที่ส่งมาให้นี้
โดยทางสคร.6 จะทำหนังสืออย่างเป็นทางการไปยังนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดในสัปดาห์หน้า

สรุปผลการประชุมสังเคราะห์องค์ความรู้จากรายงานสอบสวนโรค ครั้งที่ 2

สรุปผลการประชุม สังเคราะห์องค์ความรู้จากรายงานสอบสวนโรค
วันที่ 11 มีนาคม 2553 ณ ห้องประชุมกาสะลอง อาคาร 1 ชั้น 3 สคร.6

มี ผู้เข้าร่วมประชุมทั้งหมด 25 คน โดยเป็นตัวแทนจากงานระบาดวิทยา สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดทั้ง 7 จังหวัด และเจ้าหน้าที่สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 6 จ.ขอนแก่น (จังหวัดที่ไม่ได้เข้าร่วมประชุมในครั้งนี้คือ จ.หนองคาย)
ผลการประชุม

วาระที่ 1 พิจารณาโรคที่จะทำการสังเคราะห์องค์ความรู้จากรายงานสอบสวนโรค
จากการประชุมครั้งแรกคณะทำงานได้ตกลงกันว่าจะทำการสังเคราะห์องค์ความรู้ จำนวน 2 โรคได้แก่ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 และ โรคเลปโตสไปโรซิส แต่เนื่องจากการตรวจสอบจำนวนรายงานสอบสวนพบว่า จำนวนรายงานสอบสวนโรคเลปโตสไปโรซิส มี 117 ฉบับ ส่วนรายงานสอบสวนโรคไข้หวัดใหญ่ 2009 มีเพียง 30 ฉบับ ซึ่งมีจำนวนน้อยมาก การนำเข้าสู่กระบวนการสังเคราะห์องค์ความรู้อาจไม่เหมาะสม จึงเสนอให้ที่ประชุมทำการสังเคราะห์องค์ความรู้เพียงเรื่องเดียวคือ โรคเลปโตสไปโรซิส ซึ่งที่ประชุมเห็นชอบ

วาระที่ 2 พิจารณาตัวแปรในร่างเครื่องมือเก็บข้อมูลจากรายงานสอบสวนโรค
คณะทำงานสังเคราะห์องค์ความรู้จากรายงานสอบสวนโรค ของกลุ่มระบาดวิทยา สคร.6 ขอนแก่น นำเสนอร่างเครื่องมือในการเก็บข้อมูลจากรายงานสอบสวนโรค โดยให้คณะกรรมการในระดับจังหวัดเป็นผู้พิจารณาว่าตัวแปรใดที่จะคงไว้ หรือตัดออกหรือเพิ่มเติมบ้าง ซึ่งภายหลังจากการประชุม คณะทำงานของสคร.6 จะส่งให้ผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบอีกครั้ง ก่อนที่จะดำเนินการเก็บข้อมูลต่อไปในเดือนพฤษภาคม 2554 โดยรูปแบบการเก็บข้อมูลจะใช้แบบ Double-check Peer Review

ตัวแปรที่ได้จากการพิจารณา

การตั้งกรอบการศึกษา :
1.ข้อมูลทั่วไป เพศ อายุ อาชีพ ที่อยู่
2.ข้อมูลการป่วย :
วันเริ่มป่วย วันพบผู้ป่วย วันรักษา
ประเภทผู้ป่วย
เฉพาะราย หรือระบาด
อาการนำ(ไข้,ปวดกล้ามเนื้อ)
อาการ/อาการแสดง(เอาหมด)
โรคแทรกซ้อน (เปิด)
โรคประจำตัว (เปิด)
ประวัติการเจ็บป่วยในอดีต (เปิด)
ประวัติการเจ็บป่วยในหมู่บ้านย้อนหลัง5ปี
(มี,ไม่มี,ไม่ทราบ)--ถ้ามี
3.ข้อมูลการรักษา
การรักษาครั้งแรก(ซื้อยากินเอง,ไปคลินิค,ไปรพสต,รพช,รพท,รพศ)การรักษาครั้งครั้งต่อๆไปเปิดไว้ 4 ครั้ง(ใช้ตัวเลือกเดียวกันหมด)
วันที่เสียชีวิต
(เริ่มป่วยป่วย-ค้นพบผู้ป่วย)Early Detect
(ระยะเวลาจากเริ่มป่วย-วินิจฉัย)Early Diag
(ระยะเวลาจากเริ่มป่วย-รักษา)Early Treatment
(ระยะเวลาจากรักษา-เสียชีวิต)
ผลการรักษา (หาย,ตาย,ไม่ทราบ)

4.ข้อมูลการตรวจทางห้องปฎิบัติการ
-Lab พื้นฐาน
-CBC(hct,wbc,plt)
-UA (Albumin)
-Neutrophile,Lymphocyte
BUN,creatinine,LFT,
-Screening(+,-)
-Confirm (IFA,LA,MAT,ELISA,PCR,Culture)

5.ข้อมูลพฤติกรรมเสี่ยง
พื้นที่สัมผัสโรค (ในพื้นที่,นอกพื้นที่,ไม่ทราบ)
การมีบาดแผล(ขนาด,ตำแหน่ง,ลักษณะ)
(เปิดช่วงเวลามีแผลก่อนเกิดโรคไว้)
การแช่น้ำจากการประกอบอาชีพ
การสัมผัสแหล่งน้ำชื้นแฉะ
ระยะเวลาการแช่น้ำ (ประจำ,ครั้งคราว,ระบุชั่วโมง)
การสวมอุปกรณ์ป้องกัน
การลงเล่นน้ำ
การเลี้ยงสัตว์/การใกล้ชิดกับสัตว์เลี้ยง
พฤติกรรมการรับประทานอาหาร(กินอาหารค้างคืน/ค้างมื้อ,การเก็บรักษาอาหาร)

6.ข้อมูลสิ่งแวดล้อม
สภาพแวดล้อมโดยรวมในพื้นที่
ที่ราบ
มีแหล่งน้ำ/คู/คลอง/หนองน้ำ/แม่น้ำ
การปลูกพืชในพื้นที่ (ข้าว/อ้อย/ยางพารา
มันสำปะหลัง/ข้าวโพด/ยาสูบ/ผัก)
สภาพที่อยู่อาศัย
สภาพที่ประกอบอาชีพ
การเลี้ยงสัตว์ในบ้าน/มีคอกสัตว์ใกล้บ้าน
การเจ็บป่วยของสัตว์ในพื้นที่

7.คุณภาพการเขียนรายงานสอบสวน (แยกเป็น 2 กลุ่ม finalและfull)
ข้อมูลทั่วไป (ประเภทรายงาน,วิธีการศึกษา,สถิติที่ใช้,)
ใช้ item ตัดสินทุกไอเทมว่าผ่านหรือไม่ผ่าน
การกำหนดวัตถุประสงค์
การสรุปผล

8.คุณภาพการสอบสวนและควบคุมโรค
-ตามแนวทางการประเมินมาตรฐาน SRRT
-ความทันเวลา (Early Control)
-มาตรการ
-การค้นหาผู้ป่วยในชุมชน
-การค้นหาสาเหตุและปัจจัยเสี่ยง
-การควบคุมโรคได้ใน 2 Generation

วันพุธที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2554

ประชุมเชิงปฎิบัติการ พัฒนาระบบรายงานโรคในข่ายเ้ฝ้าระวัง(ระดับเขต) 2-3 มี.ค2554

จัด ณ เพชรพิมาน บูติก รีสอร์ท


การประชุมเชิงปฎิบัติการพัฒนาระบบรายงานโรคในข่ายเฝ้าระวัง (ระดับเขต)
วันที่ 2-3 มีนาคม 2554
ณ โรงแรมเพชรพิมานบูติด รีสอร์ท

สรุปเนื้อหาอย่างไม่เป็นทางการ วันที่ 2 มีนาคม 2554

มาตรฐาน SRRT ควรมีการนำเอามาตรฐานระบาดวิทยาโรคติดต่อเข้ามาด้วย หมอดารินทร์คิดไว้ดังนี้
1.ความครอบคลุมของหน่วยงานที่ส่งรายงาน 506
2.ความทันเวลาของการส่งรายงาน เป็นรายสัปดาห์
3.การตรวจสอบความครบถ้วนของการรายงานข้อมูล
4.มีกลไกการค้นหาระบาดของโรคจากข้อมูลเฝ้าระวัง
5.การจัดทำสถานการณ์โรคที่สำคัญและเผยแพร่ไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

ในช่วงบ่ายมีการนำเสนอระบบงานของหน่วยต่างๆในสำนักระบาดวิทยา
โรคติดต่อทางระบบทางเดินหายใจ ประเด็น
ในระบบ 506 ประเภทของเชื้อไข้หวัดใหญ่ แบบ Other specified ไม่ควรมีเนื่องจากเราไม่เจอเชื้อใหม่ และเชื้ออื่นๆนอกเหนือจากนี้  ศูนย์วิทย์ก็ไม่มีไพรเมอร์
-พิจารณาค่า lab ที่ต้องจ่ายศูนย์วิทย์ หัวหน้าเกษรเสนอว่า การให้สคร.จ่าย เป็นการเชื่อมความสัมพันธุ์ระหว่างสคร. กับ จังหวัด หมอดารินทร์บอกว่า อาจจะให้ สคร. เป็นผู้จัดเก็บเอกสาร

โรคติดต่อจากสัตว์สู่คน ประเด็นน่าสนใจได้แก่
การเก็บตัวอย่างจากผู้ป่วยพิษสุนัขบ้าไม่ต้องเก็บเลือด และหากเก็บปมรากผมให้ติดรากผมมาด้วย
ตอนนี้ในประเทศลาว มีการระบาดของแอนแทรกซ์ทั้งในคนและในสัตว์
เมลิออยโดซิส ควรมีการตรวจจับเนื่องจากเยอะมาก หากเป็นคลัสเตอร์ควรมีการสอบสวน
โรคทริชิโนซิส สามารถประสานให้คณะเวชศาสตร์เขตร้อน ม.มหิดลตรวจให้ได้
เลปโตสไปโรซิส มีปัญหาด้านการส่งตรวจยืนยันผลทางห้องปฎิบัติการ เนื่องจากตรวจแบบ Latex นั้น sense ต่ำมาก (ประมาณร้อยละ 50) และวิธีที่เป็นโกลแสตนดาร์ด อย่าง MAT นั้นก็ใช้เวลาในการตรวจนาน
บรูเซลโลซิส พบในภาคใต้เยอะมาก
สเตรปโตคอคคัส ซูอีส กำลังมีการพัฒนาเทสคิต ที่สามารถตรวจจับโรคได้รวดเร็ว

AFP มีข้อน่าสนใจดังนี้

-ไม่สามารถลดเป้าหมายได้ ต้อง 2 ต่อแสน
-หากพื้นที่ใดค้นหาครบแล้ว ก็สามารถทำ active search ได้ เพราะการทำ active search คือการค้นหาผู้ป่วยในพื้นที่ที่ยังตกค้างอยู่
-สนใจเฉพาะเด็กต่ำกว่า 15 ปีเท่านั้น
-สคร.สามารถเป็นผู้ติดตามการเก็บอุจจาระให้ได้ตามมาตรฐานสากล โดยติดตามตั้งแต่ได้รับแจ้ง

AEFI มีประเด็นน่าสนใจดังนี้
-มีการตั้งคณะกรรมการสอบสวน AEFI ในระดับเขต ซึ่งจะได้รับการพัฒนาศักยภาพให้สามารถทำงานได้เหมือนส่วนกลาง

โรคอาหารและน้ำเป็นสื่อ มีประเด็นน่าสนใจดังนี้
-อหิวาตกโรค มีความไม่ตรงกันของสถานการณ์ทั้งระดับจังหวัด เขต และประเทศ ซึ่งหมอดารินทร์บอกว่า ทางสำนักใช้วิธีดึงข้อมูลจาก 506 และ E1 แล้วตัดซ้ำ แล้วจึงทำสถานการณ์ ดังนั้น หากเกิดการระบาดอีก อาจจะต้องรอสำนักให้ตัดข้อมูล แล้ว สคร. ก็ใช้ข้อมูลตามนั้น