วันศุกร์ที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

การใช้งานโปรแกรม ALOHA และ MARPLOT

อบรมเชิงปฎิบัติการการใช้งานโปรแกรม ALOHA และ MARPLOT เพื่อพยากรณ์ทิศทางการรั่วไหลของสารเคมี : แอมโมเนียจากโรงงานน้ำแข็ง

วันที่ 22-23 กุมภาพันธุ์ 2554 ณ ห้องประชุมราชพฤกษ์ สคร.6 ขอนแก่น
ผู้เข้าร่วมประชุม
-เจ้าหน้าที่กลุ่มระบาดวิทยาและข่าวกรอง และ กลุ่มปฎิบัติการควบคุมโรคและตอบโต้ภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุข สคร.6 จ.ขอนแก่น
-เจ้าหน้าที่โรงพยาบาลศูนย์ขอนแก่น
-เจ้าหน้าที่จากเทศบาลนครขอนแก่น (กองสาธารณสุขและดับเพลิง)
-เจ้าหน้าที่จากสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 11 สุราษฎ์ธานี

วิทยากร
นายวินัย ทองชุบ สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 6 จังหวัดพิษณุโลก

ผลการดำเนินงาน
  1. วิทยากรได้ให้ความรู้เกี่ยวกับความสำคัญของการพยากรณ์ทิศทางการแพร่กระจายของสารเคมี สรุปหลักคิดที่เกี่ยวข้อง และยกตัวอย่างเหตุการณ์ที่ได้ใช้ประโยชน์จากการพยากรณ์ดังกล่าว
  2. ผู้เข้าร่วมประชุมได้ศึกษาดูงานที่โรงงานน้ำแข็งโคโรลิส ในอ.เมือง จ.ขอนแก่น ได้เรียนรู้วิธีการคำนวนปริมาณแอมโมเนียที่อยู่ในระบบ และรูปแบบของการรั่วไหลในแบบต่างๆ  ซึ่งจะมีผลต่อการคำนวนทิศทางและผลกระทบเมื่อเกิดการแพร่กระจายออกนอกโรงงาน
  3. การศึกษาดูงานที่หน่วยดับเพลิง เทศบาลนครขอนแก่น ทำให้ผู้เข้ารับการอบรมทราบถึงเหตุการณ์การรั่วไหลของแอมโมเนียจากโรงงานน้ำแข็งในจังหวัดขอนแก่น วิธีการเข้าระงับเหตุ และบทเรียนสำคัญที่ได้จากประสบการณ์ของเจ้าหน้าที่ดับเพลิงและกู้ภัย นอกจากนี้ยังได้ทราบถึงอุปกรณ์ที่จำเป็นในการเข้าระงับเหตุสารเคมีรั่วไหล
  4. ผู้เข้ารับการอบรมได้เรียนรู้วิธีการใช้งานโปรแกรม ALOHA และ Maplot ร่วมกับโปรแกรม Google Earth ซึ่งสามารถนำภาพถ่ายดาวเทียมมาใช้ประโยชน์ในการระบุตำแหน่งที่ปลอดภัยเมื่อเกิดเหตุสารเคมีรั่วไหล เพื่อให้การดำเนินงานอพยพและกู้ภัยเป็นไปด้วยความถูกต้อง

การประชุมจัดรูปแบบฐานข้อมูลที่จะำนำเสนอด้วย GIS

วันที่ 24 กุมภาพันธุ์ 2554 ได้จัดประชุมร่วมกับอาจารย์จากมหาวิทยาลัยอีสาน เพื่อติดตามความก้าวหน้าการเตรียมความพร้อมฐานข้อมูล เพื่อนำเ้ข้าสู่ระบบ GIS มีผลการดำเนินงานดังนี้
 
สรุปความพร้อมการนำเข้า GIS
รายละเอีดในแต่ละฐานข้อมูล สามารถดาวน์โหลดได้ที่นี่ คลิก

ลำดับ
ระบบ
สถานะ
ผู้รับผิดชอบ
หมายเหตุ
การนำเข้าข้อมูล
01
STI
พร้อม
สุรศักดิ์
ได้รับข้อมูลแล้ว
Key On Web
02
AIDS
พร้อม
วรางคณา
ได้รับข้อมูลแล้ว
Import From จาก Excel On Web
03
R506
พร้อม
กฤษพงษ์
ได้รับข้อมูลแล้ว
Import จาก R506
04
TB
พร้อม
ชัชชฎา
ได้รับข้อมูลแล้ว
Import จาก Excel On Web
05
Chronic
พร้อม
กนกพร
ได้รับข้อมูลแล้ว
Import จาก Excel On Web
06
19 Cause
พร้อม
กนกพร
ได้รับข้อมูลแล้ว
Import จาก Excel On Web
07
36
ไม่พร้อม
ปานแก้ว
Server กระทรวงล่มรอข้อมูลอยู่
Import จาก Excel On Web
08
AEFI
-
นิภาพร
มีในระบบ R506 แล้ว
(กำชับให้จังหวัดคีย์ให้ตรง)
Import จาก R506
09
Leprosy
พร้อม
ชัชชฎา
ได้รับข้อมูลแล้ว
Import จาก Excel On Web
10
AFP
พร้อม
วนิดา
มีในระบบ 506
(กำชับให้จังหวัดคีย์ให้ตรง)
Import จาก R506

วันเสาร์ที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

ส่งหนังสือขอความอนุเคราะห์ข้อมูลประชากรไปยัง ระบาดจังหวัด

ความเป็นมา
            เนื่องจากการดำเนินงานด้านข้อมูลระบาดวิทยาในปีที่ผ่านมาพบว่า ฐานข้อมูลประชากรของระดับเขตและระดับจังหวัดไม่ตรงกัน ทำให้สถานการณ์โรคที่นำเสนอในเวทีประชุมผู้บริหารมีความคาดเคลื่อนไม่ตรงกัน ดังนั้นเพื่อเป็นการปรับปรุงฐานข้อมูลของเขตให้มีความใกล้เคียงกับจังหวัดมากที่สุด สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 6 จ.ขอนแก่น จึงต้องขอความร่วมมือจังหวัด ทำการสำรองข้อมูลจากโปรแกรม 506 แล้วส่งเฉพาะฐานข้อมูลประชากรมายังเขต เพื่อทำการปรับปรุงให้ตรงกัน ซึ่งเมื่อดำเนินการเสร็จสิ้น จะได้ไฟล์ที่จังหวัดจะต้องส่งให้เขตดังนี้ (ขึ้นอยู่กับว่าจังหวัดมีข้อมูลประชากรย้อนหลังมากน้อยเพียงใด)
ไฟล์ที่เขตต้องใช้ในการปรับปรุงฐานข้อมูลประชากร
เพื่อให้ตรงกับจังหวัด มีดังนี้
C_AMP2552.DBF
TAMP2552.DBF
C_AMP2551.DBF
TAMP2551.DBF
C_AMP2550.DBF
TAMP2550.DBF
C_AMP2549.DBF
TAMP2549.DBF
C_AMP2548.DBF
TAMP2548.DBF
C_AMP2547.DBF
TAMP2547.DBF
C_AMP2546.DBF
TAMP2546.DBF


ดาวน์โหลดแนวทางการดึงข้อมูลประชากรจากโปรแกรม 506
ดาวน์โหลดหนังสือราชการขอความอนุเคราะห์ข้อมูลประชากร

วันพฤหัสบดีที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

ปรับปรุงข้อมูลประชากรจังหวัด และแยกรายกลุ่มอายุจังหวัด ในฐานข้อมูล 506 เขต

ภาพที่ 1 ตัวอย่างของการลงข้อมูลประชากรแยกรายจังหวัดและรายกลุ่มอาุยุ ใน 1 ปี ระดับจังหวัด
จากข้อมูลประชากรระดับประเทศ ที่น้องน๊อค งานระบาดสคร.5 ส่งมาให้ กฤษพงษ์ และนิตยา และน้องไก่นักศึกษาฝึกงาน ได้ช่วยกันสกัดเฉพาะประชากรเขต 6 และแบ่งกลุ่มอายุตามหลักระบาดวิทยา (9 ช่วง) แล้วปรับปรุงข้อมูลลงในฐานข้อมูล 506 ตั้งแต่ปี 2546-2552 (ประชากรของปี 2553 และ 2554 ยังไ่ม่มีฐานข้อมูลที่อัพเดท)

  • ประชากรแยกรายกลุ่มอายุระดับจังหวัด จะทำให้เราสามารถจัดทำสถานการณ์โรค โดยดูอัตรา่ป่วยแยกกลุ่มอายุระดับจังหวัด ในแต่ละปีได้
  • ประชากรแยกรายจังหวัดรายปีื จะทำให้การคิดอัตราป่วยแยกรายปี ถูกต้องยิ่งขึ้น (เพราะเมื่อก่อนใ้ช้ฐานประชากร ปี 2551 แบบเดียวกันหมด)
สิ่งที่ต้องทำเพิ่มเติม
  • ประชากรแยกรายอำเภอในแต่ละปี ตั้งแต่ปี 2546 -2552 รวม 7 ปี มีทั้งหมด 7X134= 938 ช่องที่ต้องกรอกข้อมูลลงไป 
  • ประชากรแยกรายอำเภอ จะต้องให้จังหวัดสำรองข้อมูลออกจากโปรแกรม 506 ออกมาให้ ซึ่งจะต้องจัดทำแนวทางการดึงข้อมูลจากโปรแกรมออกมาให้ง่ายที่สุด
  • ประชากรแยกรายกลุ่มอายุรายอำเภอในแต่ละปี ตั้งแต่ปี 2546 - 2552 รวม 7 ปี แบ่งเป็น 9 ช่วงอายุ รวมทั้งสิ้น 7x134X9 = 8442 ช่อง ที่ต้องกรอกข้อมูลลงไป
  • รวมจำนวนเซลล์ที่ต้องกรอกข้อมูลให้แล้วเสร็จ เท่ากับ 938 + 8442 = 9380 ช่อง
  • เมื่อคำนวนเวลาการทำงาน เปรียบเทียบกับงานที่ได้ทำเสร็จไปแล้ว พบว่า การกรอกข้อมูลประชากรแยกรายจังหวัดรายกลุ่มอายุ 7 ปีย้อนหลัง จำนวน 7ปี X 8 จังหวัด X9 ช่วงอายุ = 504 ช่อง ใช้เวลาทั้งสิ้น 5 ชั่วโมง
  • ข้อมูล 9380 ช่องที่เหลือ คิดเป็น 18.6 เท่า ของเวลา 5 ชั่วโมง จะต้องใช้เวลาทั้งสิ้น 93 ชั่วโมง หากทำวันละ 5 ชั่วโมง จะใช้เวลาืทั้่งสิ้น 18 วัน
สรุปว่า การลงข้อมูลประชากรระดับอำเภอ แยกรายกลุ่มอายุ ให้สำเร็จ จะต้องใช้เวลาื 18 วัน โดยใช้คน 2 คน  และงานนี้ไม่สามารถกระจายกันไปทำได้ เนื่องจากต้องกรอกข้อมูลออฟไลน์ลงในเครื่องเซอเวอร์กลางเครื่องเดียวเท่านั้น

มันเป็นงานเลเบอร์ที่ถ้าไม่มีการสนับสนุนอย่างจริงจังและจริงใจ ไม่ทีทางสำเร็จได้เลยครับ ถ้าพิจรณาจากภาระงานของบุคลากรที่มีอยู่ในปัจจุบัน

ดาวน์โหลดข้อมูลประชากรแยกรายจังหวัดแยกรายกลุ่มอายุระดับจังหวัดในเขต 6 ปี 2546-2552

ประชากรประเทศไทย ปี 2552-2546 สนับสนุนโดย สคร.5

ประชากรแยกรายจังหวัดและแยกรายกลุ่มอายุ ได้รับการสนับสนุนจากสคร.5

ดาวน์โหลด

ตัวชี้วัดกลุ่มระบาดวิทยา เปลี่ยนแปลงใหม่

เมื่อวานนี้ได้มีการประชุมเพื่อเปลี่ยนแปลงต้วชี้วัดของปี 2553 ให้เหมาะสมยิ่งขึ้น มีรายละเอียดดังนี้

ตัวชี้วัดที่ 2.1.4 ร้อยละของเครือข่ายที่เกี่ยวข้องมีความพึงพอใจ ในผลิตภัณฑ์ของกลุ่มระบาดวิทยา
สรุป 
  • ผลิตภัณฑ์ให้หมายถึุง ข่าวกรอง คู่มือหลักสูตร และ สถานการณ์โรคเท่านั้น 
  • เกณฑ์การประเมินแบ่งเป็น 5 ระดับความพึงพอใจ

ตัวชี้ัวัด ร้อยละของ SRRT ระดับอำเภอมีความรู้ตามเกณฑ์เรื่องโรคและภัยสุขภาพ 
  • ให้เปลี่ยนคำว่า "มีความรู้เรื่องโรคและภัยสุขภาพ" เป็นคำว่า "ความรู้ด้านระบาดวิทยาพื้นฐาน"
  • จัดเก็บข้อมูลโดยบูรณาการกับการประเมินมาตรฐาน SRRT และ สัมมนาระบาดวิทยา
ตัวชี้วัด การประเมินมาตรฐาน SRRT
  • วัดเป็นระดับความสำเร็จของการพัฒนาหน่วยงานทางสาธารณสุขให้ทีมเฝ้าระวังสอบสวนเคลื่อนที่เร็ว ดำเนินการตามมาตรฐานสอดคล้องกับกฎอนามัยระหว่างประเทศ วัดระดับความสำเร็จเป็นขั้นๆ
  • ระดับ 5 จะวัดร้อยละของพื้นที่ที่ผ่านการประเมิน
ตัวชี้วัด ร้อยละของเหตุการณ์ที่ทีม SRRT สคร.6 สามารถดำเนินการสอบสวนโรคได้ตามนโยบายที่กำหนด
  • ตัวเศษ ได้แก่ จำนวนเหตุการณ์ที่ออกสอบสวนได้ตามมาตรฐานที่กรมควบคุมโรคกำหนด
  • ตัวส่วน ได้แก่ จำนวนเหตุการณ์ที่ต้องออกสอบสวนตามเกณฑ์ของกลุ่มระบาดที่ตั้งขึ้นทั้งหมด
  • เกณฑ์ได้แก่
  • 1.สอบสวนโรคเพื่อการศึกษาเรียนรู้
  • 2.Event ทีี่สื่อมวลชนและผู้บริหารสนใจ
  • 3.เป็นโรคประจำถิ่นที่ำสำคัญและได้รับการร้องขอจากจังหวัด
  • 4.มีการระบาดมากกว่า 2 อำเภอขึ้นไป
ตัวชี้วัดเพิ่มเติม : ร้อยละของข่าวกรองโรคและภัยสุขภาพที่มีการดำเนินการได้ตามมาตรฐาน 
  • เปลี่ยนเป็นแบบนี้เพื่อให้เห็นกระบวนการทำงานของกลุ่มงานชัดเจนขึ้น
ตัวชี้วัดที่รวมกัน : ให้รวมตัวชี้วัดร้อยละของอำเภอที่ได้รับข่าวกรอง และ สถานการณ์โรคที่สำคัญของพื้นที่ สคร.6 ให้เอามารวมกันเป็นตัวชี้วัดเดียว แต่เขียนในรายละเอียดให้วัดในช่วงเวลาแตกต่างกัน

เพิ่มตัวชี้วัด AFP : ใช้เทมเพลตเดียวกันกับ สคร.9

เพิ่มตัวชี้วัดการประเิมินระบบเฝ้าระวังทางสาธารณสุข : ใช้การประเมินระบบเฝ้าระวังโรคเอดส์ (506/1)


ตัวชี้วัดที่มีการปรับทั้งหมด ให้ส่งหัวหน้าภายในวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2554

วันพุธที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

ระบบ SMS แจ้งข่าวเตือนภัย ได้รับการเติมเงิน และพร้อมใช้แล้ว

ระบบ SMS ปี 2554 เติมเงินครั้งแรก 5,000 บาท สามารถใช้ได้ 6,281 เครดิต (การส่งใช้ 2 เครดิตต่อ 1 ข้อความ/1หมายเลข

วันจันทร์ที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

ลิสต์รายชื่อสำหรับส่ง SMS แจ้งเตือนการเกิดโรคและภัยสุขภาพ

หัวหน้าได้มอบหมายให้กฤษพงษ์ ผู้รับผิดชอบโครงการ SMS แจ้งเตือนโรคและภัยสุขภาพ จัดทำรายหมวดหมู่ของรายชื่อที่จะได้รับ SMS ทั้งหมด เพื่อเป็นแนวทางในการของบประมาณเพิ่มเติม เนื่องจากงบประมาณที่ตั้งไว้ในปีนี้ มีแนวโน้วว่าจะไม่เพียงพอ เมื่อพิจารณาจากรายชื่อที่ได้คาดคะเนไว้คร่าวๆ ประมาณ 300 รายชื่อ

ควรส่งรายชื่อได้ภายในสัปดาห์นี้

การออกแบบเทมเพลตสำหรับ Executive Summary

หัวหน้าพบปัญหาว่า เมื่อผู้บริหารต้องการข้อมูลด่วนๆ การคิดใหม่ทำใหม่เป็นเรื่องเสียเวลา
จำเป็นต้องมีแม่แบบเอาไว้ เพื่อให้ทุกคนสามารถจับข้อมูลหยอดได้เลย และข้อมูลที่นำเสนอผู้บริหารจะได้ไม่ยืดเยื้อมาก เลยมอบให้นายกฤษพงษ์ ออกแบบแม่แบบ และทำความเข้าใจกับทีมข้อมูล ว่าจะต้องนำข้อมูลอะไร จากไหน มาใส่ไว้บ้าง

ผู้ที่เกี่ยวข้อง

  • กฤษพงษ์
  • วนิดา
  • นิตยา
  • ปานแก้ว