วันพุธที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2554

ประชุมเชิงปฎิบัติการ พัฒนาระบบรายงานโรคในข่ายเ้ฝ้าระวัง(ระดับเขต) 2-3 มี.ค2554

จัด ณ เพชรพิมาน บูติก รีสอร์ท


การประชุมเชิงปฎิบัติการพัฒนาระบบรายงานโรคในข่ายเฝ้าระวัง (ระดับเขต)
วันที่ 2-3 มีนาคม 2554
ณ โรงแรมเพชรพิมานบูติด รีสอร์ท

สรุปเนื้อหาอย่างไม่เป็นทางการ วันที่ 2 มีนาคม 2554

มาตรฐาน SRRT ควรมีการนำเอามาตรฐานระบาดวิทยาโรคติดต่อเข้ามาด้วย หมอดารินทร์คิดไว้ดังนี้
1.ความครอบคลุมของหน่วยงานที่ส่งรายงาน 506
2.ความทันเวลาของการส่งรายงาน เป็นรายสัปดาห์
3.การตรวจสอบความครบถ้วนของการรายงานข้อมูล
4.มีกลไกการค้นหาระบาดของโรคจากข้อมูลเฝ้าระวัง
5.การจัดทำสถานการณ์โรคที่สำคัญและเผยแพร่ไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

ในช่วงบ่ายมีการนำเสนอระบบงานของหน่วยต่างๆในสำนักระบาดวิทยา
โรคติดต่อทางระบบทางเดินหายใจ ประเด็น
ในระบบ 506 ประเภทของเชื้อไข้หวัดใหญ่ แบบ Other specified ไม่ควรมีเนื่องจากเราไม่เจอเชื้อใหม่ และเชื้ออื่นๆนอกเหนือจากนี้  ศูนย์วิทย์ก็ไม่มีไพรเมอร์
-พิจารณาค่า lab ที่ต้องจ่ายศูนย์วิทย์ หัวหน้าเกษรเสนอว่า การให้สคร.จ่าย เป็นการเชื่อมความสัมพันธุ์ระหว่างสคร. กับ จังหวัด หมอดารินทร์บอกว่า อาจจะให้ สคร. เป็นผู้จัดเก็บเอกสาร

โรคติดต่อจากสัตว์สู่คน ประเด็นน่าสนใจได้แก่
การเก็บตัวอย่างจากผู้ป่วยพิษสุนัขบ้าไม่ต้องเก็บเลือด และหากเก็บปมรากผมให้ติดรากผมมาด้วย
ตอนนี้ในประเทศลาว มีการระบาดของแอนแทรกซ์ทั้งในคนและในสัตว์
เมลิออยโดซิส ควรมีการตรวจจับเนื่องจากเยอะมาก หากเป็นคลัสเตอร์ควรมีการสอบสวน
โรคทริชิโนซิส สามารถประสานให้คณะเวชศาสตร์เขตร้อน ม.มหิดลตรวจให้ได้
เลปโตสไปโรซิส มีปัญหาด้านการส่งตรวจยืนยันผลทางห้องปฎิบัติการ เนื่องจากตรวจแบบ Latex นั้น sense ต่ำมาก (ประมาณร้อยละ 50) และวิธีที่เป็นโกลแสตนดาร์ด อย่าง MAT นั้นก็ใช้เวลาในการตรวจนาน
บรูเซลโลซิส พบในภาคใต้เยอะมาก
สเตรปโตคอคคัส ซูอีส กำลังมีการพัฒนาเทสคิต ที่สามารถตรวจจับโรคได้รวดเร็ว

AFP มีข้อน่าสนใจดังนี้

-ไม่สามารถลดเป้าหมายได้ ต้อง 2 ต่อแสน
-หากพื้นที่ใดค้นหาครบแล้ว ก็สามารถทำ active search ได้ เพราะการทำ active search คือการค้นหาผู้ป่วยในพื้นที่ที่ยังตกค้างอยู่
-สนใจเฉพาะเด็กต่ำกว่า 15 ปีเท่านั้น
-สคร.สามารถเป็นผู้ติดตามการเก็บอุจจาระให้ได้ตามมาตรฐานสากล โดยติดตามตั้งแต่ได้รับแจ้ง

AEFI มีประเด็นน่าสนใจดังนี้
-มีการตั้งคณะกรรมการสอบสวน AEFI ในระดับเขต ซึ่งจะได้รับการพัฒนาศักยภาพให้สามารถทำงานได้เหมือนส่วนกลาง

โรคอาหารและน้ำเป็นสื่อ มีประเด็นน่าสนใจดังนี้
-อหิวาตกโรค มีความไม่ตรงกันของสถานการณ์ทั้งระดับจังหวัด เขต และประเทศ ซึ่งหมอดารินทร์บอกว่า ทางสำนักใช้วิธีดึงข้อมูลจาก 506 และ E1 แล้วตัดซ้ำ แล้วจึงทำสถานการณ์ ดังนั้น หากเกิดการระบาดอีก อาจจะต้องรอสำนักให้ตัดข้อมูล แล้ว สคร. ก็ใช้ข้อมูลตามนั้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น