วันอังคารที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2554

สรุปผลการประชุมสังเคราะห์องค์ความรู้จากรายงานสอบสวนโรค ครั้งที่ 2

สรุปผลการประชุม สังเคราะห์องค์ความรู้จากรายงานสอบสวนโรค
วันที่ 11 มีนาคม 2553 ณ ห้องประชุมกาสะลอง อาคาร 1 ชั้น 3 สคร.6

มี ผู้เข้าร่วมประชุมทั้งหมด 25 คน โดยเป็นตัวแทนจากงานระบาดวิทยา สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดทั้ง 7 จังหวัด และเจ้าหน้าที่สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 6 จ.ขอนแก่น (จังหวัดที่ไม่ได้เข้าร่วมประชุมในครั้งนี้คือ จ.หนองคาย)
ผลการประชุม

วาระที่ 1 พิจารณาโรคที่จะทำการสังเคราะห์องค์ความรู้จากรายงานสอบสวนโรค
จากการประชุมครั้งแรกคณะทำงานได้ตกลงกันว่าจะทำการสังเคราะห์องค์ความรู้ จำนวน 2 โรคได้แก่ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 และ โรคเลปโตสไปโรซิส แต่เนื่องจากการตรวจสอบจำนวนรายงานสอบสวนพบว่า จำนวนรายงานสอบสวนโรคเลปโตสไปโรซิส มี 117 ฉบับ ส่วนรายงานสอบสวนโรคไข้หวัดใหญ่ 2009 มีเพียง 30 ฉบับ ซึ่งมีจำนวนน้อยมาก การนำเข้าสู่กระบวนการสังเคราะห์องค์ความรู้อาจไม่เหมาะสม จึงเสนอให้ที่ประชุมทำการสังเคราะห์องค์ความรู้เพียงเรื่องเดียวคือ โรคเลปโตสไปโรซิส ซึ่งที่ประชุมเห็นชอบ

วาระที่ 2 พิจารณาตัวแปรในร่างเครื่องมือเก็บข้อมูลจากรายงานสอบสวนโรค
คณะทำงานสังเคราะห์องค์ความรู้จากรายงานสอบสวนโรค ของกลุ่มระบาดวิทยา สคร.6 ขอนแก่น นำเสนอร่างเครื่องมือในการเก็บข้อมูลจากรายงานสอบสวนโรค โดยให้คณะกรรมการในระดับจังหวัดเป็นผู้พิจารณาว่าตัวแปรใดที่จะคงไว้ หรือตัดออกหรือเพิ่มเติมบ้าง ซึ่งภายหลังจากการประชุม คณะทำงานของสคร.6 จะส่งให้ผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบอีกครั้ง ก่อนที่จะดำเนินการเก็บข้อมูลต่อไปในเดือนพฤษภาคม 2554 โดยรูปแบบการเก็บข้อมูลจะใช้แบบ Double-check Peer Review

ตัวแปรที่ได้จากการพิจารณา

การตั้งกรอบการศึกษา :
1.ข้อมูลทั่วไป เพศ อายุ อาชีพ ที่อยู่
2.ข้อมูลการป่วย :
วันเริ่มป่วย วันพบผู้ป่วย วันรักษา
ประเภทผู้ป่วย
เฉพาะราย หรือระบาด
อาการนำ(ไข้,ปวดกล้ามเนื้อ)
อาการ/อาการแสดง(เอาหมด)
โรคแทรกซ้อน (เปิด)
โรคประจำตัว (เปิด)
ประวัติการเจ็บป่วยในอดีต (เปิด)
ประวัติการเจ็บป่วยในหมู่บ้านย้อนหลัง5ปี
(มี,ไม่มี,ไม่ทราบ)--ถ้ามี
3.ข้อมูลการรักษา
การรักษาครั้งแรก(ซื้อยากินเอง,ไปคลินิค,ไปรพสต,รพช,รพท,รพศ)การรักษาครั้งครั้งต่อๆไปเปิดไว้ 4 ครั้ง(ใช้ตัวเลือกเดียวกันหมด)
วันที่เสียชีวิต
(เริ่มป่วยป่วย-ค้นพบผู้ป่วย)Early Detect
(ระยะเวลาจากเริ่มป่วย-วินิจฉัย)Early Diag
(ระยะเวลาจากเริ่มป่วย-รักษา)Early Treatment
(ระยะเวลาจากรักษา-เสียชีวิต)
ผลการรักษา (หาย,ตาย,ไม่ทราบ)

4.ข้อมูลการตรวจทางห้องปฎิบัติการ
-Lab พื้นฐาน
-CBC(hct,wbc,plt)
-UA (Albumin)
-Neutrophile,Lymphocyte
BUN,creatinine,LFT,
-Screening(+,-)
-Confirm (IFA,LA,MAT,ELISA,PCR,Culture)

5.ข้อมูลพฤติกรรมเสี่ยง
พื้นที่สัมผัสโรค (ในพื้นที่,นอกพื้นที่,ไม่ทราบ)
การมีบาดแผล(ขนาด,ตำแหน่ง,ลักษณะ)
(เปิดช่วงเวลามีแผลก่อนเกิดโรคไว้)
การแช่น้ำจากการประกอบอาชีพ
การสัมผัสแหล่งน้ำชื้นแฉะ
ระยะเวลาการแช่น้ำ (ประจำ,ครั้งคราว,ระบุชั่วโมง)
การสวมอุปกรณ์ป้องกัน
การลงเล่นน้ำ
การเลี้ยงสัตว์/การใกล้ชิดกับสัตว์เลี้ยง
พฤติกรรมการรับประทานอาหาร(กินอาหารค้างคืน/ค้างมื้อ,การเก็บรักษาอาหาร)

6.ข้อมูลสิ่งแวดล้อม
สภาพแวดล้อมโดยรวมในพื้นที่
ที่ราบ
มีแหล่งน้ำ/คู/คลอง/หนองน้ำ/แม่น้ำ
การปลูกพืชในพื้นที่ (ข้าว/อ้อย/ยางพารา
มันสำปะหลัง/ข้าวโพด/ยาสูบ/ผัก)
สภาพที่อยู่อาศัย
สภาพที่ประกอบอาชีพ
การเลี้ยงสัตว์ในบ้าน/มีคอกสัตว์ใกล้บ้าน
การเจ็บป่วยของสัตว์ในพื้นที่

7.คุณภาพการเขียนรายงานสอบสวน (แยกเป็น 2 กลุ่ม finalและfull)
ข้อมูลทั่วไป (ประเภทรายงาน,วิธีการศึกษา,สถิติที่ใช้,)
ใช้ item ตัดสินทุกไอเทมว่าผ่านหรือไม่ผ่าน
การกำหนดวัตถุประสงค์
การสรุปผล

8.คุณภาพการสอบสวนและควบคุมโรค
-ตามแนวทางการประเมินมาตรฐาน SRRT
-ความทันเวลา (Early Control)
-มาตรการ
-การค้นหาผู้ป่วยในชุมชน
-การค้นหาสาเหตุและปัจจัยเสี่ยง
-การควบคุมโรคได้ใน 2 Generation

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น